logic

  เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก   
  ตะกร้าสินค้า (0)
 

ประพจน์ที่สมมูลกัน ( Logic Equivalence)

ประพจน์ 2 ประพจน์จะสมมูลกัน ก็ต่อเมื่อ ประพจน์ทั้งสองมีค่าความจริงเหมือนกัน ทุกกรณีของค่าความจริงของประพจน์ย่อย 

ตารางที่แสดงค่าที่เป็นไปได้ครบทุกแบบดังนี้ เรียกว่า ตารางค่าความจริง (Truth Table)

จำนวนแบบที่เกิดขึ้นเท่ากับ 2n เมื่อ n คือจำนวนประพจน์ ... เช่น ถ้ามี 1 ประพจน์จะเป็นไปได้ 2

แบบ, ถ้ามี 2 ประพจน์ เป็นไปได้ 4 แบบ (ดังตารางนี้), ถ้ามี 3 ประพจน์จะเป็นไปได้ 8 แบบ

รูปแบบประพจน์ 2 รูปแบบใดๆ ที่ให้ค่าความจริงตรงกันทุกๆ กรณี จะกล่าวว่ารูปแบบทั้ง

สอง สมมูลกัน (Equivalent) (แปลว่า สามารถใช้แทนกันได้) สัญลักษณ์ที่ใช้แสดงการสมมูลกัน คือ

(ขีดสามขีด)

พิจารณาประพจน์ 

                “สุนัขเห่าฮ่งๆและแมวร้องเหมียวๆ” และ 

                “แมวร้องเหมียวๆและสุนัขเห่าฮ่งๆ” 

                การพิจารณาประโยคทั้งสองดังกล่าว ไม่เพียงแต่ดูคำในประโยค แต่จะพิจารณาจากรูปของประพจน์และตัวเชื่อมประพจน์ย่อยเป็น “จริง” หรือ “เท็จ” โดยพิจารณาสร้างตารางค่าความจริง ดังนี้ 

ให้           p : สุนัขเห่าฮ่งๆ

                q : แมวร้องเหมียวๆ

                p ^ q : สุนัขเห่าฮ่งๆ และแมวร้องเหมียวๆ

                q v p : แมวร้องเหมียวๆ และสุนัขเห่าฮ่งๆ

P

q

( p ^ q )

(q ^ p)

T

T

T

T

T

F

F

F

F

T

F

F

F

F

F

F

มีค่าความจริงเหมือนกัน

 

จะเห็นได้ว่าประพจน์ทั้งสองจะเป็น “จริง” เมื่อประพจน์ p และ q มีค่าความจริงเป็น “จริง” จาดตารางค่าความจริงข้างต้นค่าความจริงของ ( p ^ q ) และ ( q ^ p ) มีค่าความจริงเหมือนกัน รูปแบบประพจน์เช่นนี้เรียนว่า ประพจน์ ตรรกสมมูล

ตรรกสมมูล (Logic Equivalence)

                ให้ p และ q เป็นประพจน์และตัวเชื่อม ประพจน์สองรูปแบบเป็นตรรกสมมูล ก็ต่อเมื่อ ค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่มต่างกัน ให้ค่าความจริงเหมือนกันทุก กรณี แทนด้วย p q

                 

กฎของเดอร์มอแกน (DaMorgan’s Laws) : นิเสธของ “ ^ ” และ “ v  (Negation of And and or)

                ตรรกสมมูลนี้ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่ ออกุสตุสเดอร์มอแกน (Augustus DeMorgan) ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่19 (ค.ศ. 1806 – 1871) (Epp, Susanna S, 1990, p.14) ซึ่งเป็นคนแรกที่กล่าวไว้ในรูปแบบคณิตศาสตร์

~ ( p ^ q ) ~p v ~q

~ ( p v q ) ~p ^ ~q 

                นิเสธของประพจน์ที่เชื่อมต่อด้วยตัวเชื่อม และ (And) จะมีความหมายเหมือนกันทุกประการกับ นิเสธของประพจน์ย่อยที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อมหรือ (Or)

                นิเสธของประพจน์ที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อม หรือ (Or) จะมีความหมายเหมือนกันทุกประการกับนิเสธของประพจน์ย่อยที่เชื่อมด้วยตัวเชื่อม และ (And)

 

 

 

 

 

ตัวอย่าง ~(p ^q) ~p v ~q

วิธีทำ      สามารถแสดงได้ด้วยตารางค่าความจริงต่อไปนี้ 

p

q

~p

~q

P ^ q

~( p ^ q )

~p v ~q

T

T

F

F

T

F

F

T

F

F

T

F

T

T

F

T

T

F

F

T

T

F

F

T

T

F

T

T

มีค่าความจริงเหมือนกัน

ตัวอย่างค่าความจริง ~ ( p v q ) ~p ^ ~q

p

q

~p

~q

p v q

~( p v q )

~p ^ ~q

T

T

F

F

T

F

F

T

F

F

T

T

F

F

F

T

T

F

T

F

F

F

F

T

T

F

T

T

มีค่าความจริงเหมือนกัน

 

Home  กลับก่อนหน้านี้        หน้าถัดไป

 



Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  5,720
Today:  8
PageView/Month:  15

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com